วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

สรุปบันทึก ครั้งที่ 1 (10 เม.ย. – 16 เม.ย. 2552)

1. ชื่อกลุ่ม (อ. วรสรวง ได้แนะนำว่าควรจะเป็นชื่อที่สนุก และสะท้อน นวตกรรม)เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มได้มีการเสนอชื่อของกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มทางเลือกใหม่
2. New Choice
3. NUVO =>แปลว่า ใหม่ เป็นคำพ้องเสียงในหลายๆ ภาษาและเป็นรากศัพท์ของคำว่า "New" นอกจากนี้ยังเป็นชื่อวงดนตรีสมัยหนึ่ง
4. Novell => แปลว่า "ใหม่" เป็นคำพ้องเสียงในหลายๆ ภาษาและรากศัพท์ของคำว่า "New" นอกจากนี้ยังเป็น เป็น Netware ระบบปฏิบัติการ
5. Thaicyber3=>Thailand Cyber University Group 3
6. เกี่ยวก้อยร้อยใจไปทั้ง 77. We're 3 Group

2. การกำหนดบทบาทในการจัดการกิจกรรมกลุ่มให้แก่สมาชิก ดังนี้
1. ผู้ดำเนินรายการ (moderator) อ. กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา => http://kulachatrakul.blogspot.com/
2. ผู้บันทึก (note taker) อ. จันทร สุนัยรัตนาภรณ์ (15.00 เป็นต้นไป)
3. สมาชิก (member)) อ. อุมาจินต์ คงคา => http://jinny-funnyenglish.blogspot.com/ วันจันทร์-วันพุธ เวลาเช้า 8.00-9.00 (ที่นี่ประมาณ21.00-22.00น.)
4. สมาชิก (member) พระมหาบุญชัช เมฆแก้ว ( 09.00,14.00,21.00)
5. สมาชิก (member) อ. กานต์พิชชา จีระะศิริ (ว่างทั้งวัน ) => http://karnpitcha.blogspot.com/
6. อ. สรรธิป ฉายพันธ์ (10.00-17.00)
7. อ. กมลศักดิ์ สุระดม (10.00-19.00)

3. บันทึกข้อสรุปของกลุ่มที่ได้จากการศึกษาเอกสารหลักและเอกสารเสริมของสัปดาห์นี้ (อย่างน้อยประมาณ 1 หน้ากระดาษ)
เว็บ 2.0 คือ เว็บที่อำนวยความสะดวกในด้านการสื่อสาร แบ่งปันสารสนเทศและเน้นการร่วมมือกันได้บนเว็บ (two –way communication) ซึ่งต่างจาก เว็บ 1.0 ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์เป็นหลัก (one –way communication) ซึ่งเว็บ 2.0 ยังเปิดโอกาสในการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาติดตั้ง (Add-on , Plug – in) ได้ด้วย เช่น AJAX , Web Log , Web feeds ; rss , Atom , Podcast , และ Social Networking ที่คุ้นเคยกัน เช่น Hi5 , Facebook หรือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและมีส่วนร่วม เช่น Wiki Tim O’Reilly ได้เน้นความสำคัญสองประการได้แก่ Usability , Sharing และแยกความแตกต่างระหว่างเว็บ 1.0 และ 2.0 ได้พอสรุปดังนี้
Web 1.0
Web2.0
Static
Dynamics
View
Interactive
One way
Two way
Spectator
Participant
ตัวอย่างของนวัตกรรม web 2.0 เช่น tag cloud, rss (ข่าว), rss (การ์ตูน IT), rss (Live Traffic Feed), YouTube, Google Docs Presentation, Google Translate, Google Calendar, Creative Commons Attribution 3.0 License

4. แนวทางในการนำ นวัตกรรม web 2.0 มาใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสมาชิกกลุ่มประสบการณ์การสอนด้วย web2.0 ของสมาชิกในกลุ่ม• นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
ผู้สอนได้กำหนดให้นักศึกษาได้ใช้งาน นวัตกรรม web 2.0 ดังนี้1) การให้นศ. เลือกใช้ Blog อะไรก็ได้ในการทำ Blog ที่ตนเองสนใจและสร้างบทความเกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาที่กำหนด จากนั้นให้ นศ. ประกาศ URL ไว้ในระบบ E-Learning ของมหาวิทยาลัย แล้วให้เพื่อนๆ เข้าไปเยี่ยมชมพร้อม Comment อย่างน้อยคนละ 3 blog2) สำหรับนศ. ที่มี Social Networking "Hi5" ให้เข้ามา Add Hi5 ของอาจารย์ เพื่อไว้ติดต่อข่าวสารกันอย่างไม่เป็นทางการ ส่วน นศ.ที่ไม่มีให้ศึกษาการสร้าง hi5 จากเพื่อนๆ ผลตอบรับออกมาค่อนข้างดี นศ. สนใจและเข้าใจการใช้เว็บให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และรู้จักการใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการสลับกับความเพลิดเพลินกับชุมชนออนไลน์ • นักศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
สำหรับโรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่จะมีเว็ปไซต์ประจำโรงเรียน ในการใช้เว็ป 2.0 ให้มีประโยชน์ในการเรียนการสอนนั้น ถ้าครูผู้สอนพบว่ามีเว็ปไซต์ใดมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนก็แจ้ง Admin ให้ช่วยเชื่อมโยงจากหน้าเว็ปของโรงเรียน ที่ได้มีการเชื่อมโยงไปยังเว็ปไซต์ ต่าง ๆ ในหลาย ๆ วิชา นอกจากนี้รายวิชาย่อย ๆ ในระบบ e-Learning ครูประจำวิชาควรทำการเชื่อมโยงบทเรียนเข้ากับ ระบบ e-Learning ภายนอก เช่น การเชื่อมโยงไปยังเว็ปไซต์ของสสวท. เป็นต้น

5. อื่น ๆ 5.1 ความคิดเห็นเพิ่มเติมจาก อ. วรสรวงท่านอาจารย์ได้แนะนำสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
• ให้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ web 2.0 จาก Social BookMarking เช่น ใน Delicious ซึ่งได้สร้าง Bookmark ร่วมกันเกี่ยวกับ web 2.0 http://delicious.com/search?p=web+2.0&u=&chk=&context=&fr=del_icio_us&lc=0• การใช้ Shortcut ใน Gmail ที่จะทำให้การใช้งานเร็วขึ้นมากhttp://gmailblog.blogspot.com/2008/12/get-your-gmail-stickers.htmlhttp://ajcharng.blogspot.com/2009/02/gmail-stickers-google.html• การใช้งาน Google Groups และ Google Sites5.2 ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Web 2.0 จากสมาชิกในกลุ่มรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSSสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจเพิ่มเติม : XMLเอกซ์เอ็มแอล (XML) ย่อมาจาก Extensible Markup Language ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน(เช่นใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน)นอก จากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตวิธีการรับ RSSกรณีที่ยังไม่มีโปรแกรม RSS ต้อง Download โปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องก่อน โปรแกรม RSS มีหลายค่าย ได้แก่ • RSS Reader (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.rssreader.com)• RSS Bandit (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.rssbandit.org)• Sharp Reader (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.sharpreader.net)• Mozilla Thunderbird (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.mozilla.com/thunderbird)• Microsoft Outlook (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.microsoft.com)• Nuparadigm RSS Screensaver (http://lms3.thaicyberu.go.th/moodle/mod/forum/www.nuparadigm.com)

ความหมาย “ยุค” ของอินเตอร์เน็ต และ “ยุค” ของเว็บ

อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามสิบปีแล้ว ในตลอดช่วงพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน
"Internet 1.0"
ยุคแรกเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล (Human-to-Human Communication) ในยุคนี้พัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะเป็นเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีที่สำคัญที่พัฒนาใช้งานกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในยุคนี้ได้แก่ อีเมล (Email) และ ยูสเน็ต (UseNet)
อีเมลเป็นเทคโนโลยีที่ยังมีการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วอีเมลได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล (Human-to-Community Communication) ด้วย เทคโนโลยีเพื่อการนี้เรียกว่า เมลลิ่งลิสต์ (Mailing List) ซึ่งก็ยังมีการใช้งานอยู่เช่นกัน
ส่วน UseNet ได้รับความนิยมลดน้อยลง แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอจากผู้ใช้ที่ใช้งานมาตั้งแต่ในอดีต ผู้ให้บริการ UseNet รายสำคัญในปัจจุบันคือ Google ภายใต้ชื่อ Google Groups นั่นเอง
"Internet 2.0"
ยุคต่อมาเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ (Human-to-Computer Communication) เทคโนโลยีสำคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ได้แก่ เว็บ (Web หรือ World Wide Web) เว็บเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานใดงานหนึ่งจากระยะไกลได้ผ่านกระบวนการใช้งานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน
ก่อนหน้าเทคโนโลยีเว็บ การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจะเป็นการใช้งาน “เครื่องคอมพิวเตอร์” เพื่อทำงาน ด้วยเทคโนโลยีเว็บทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเป็นการใช้งาน “ระบบงาน” เพื่อทำงาน
อธิบายในรายละเอียดของความแตกต่างดังกล่าวจะได้ว่า ในอดีตผู้ใช้ต้องใช้โปรแกรมจำลองหน้าจอเพื่อเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งแล้วใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำงาน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยุคแรกๆ ของ ม.สงขลานครินทร์จะจำได้ว่าต้อง “telnet” มาใช้เครื่อง “ratree.psu.ac.th” เพื่อใช้ “pine” ในการรับส่งอีเมลเป็นต้น แต่ด้วยเทคโนโลยีเว็บผู้ใช้ที่ต้องการรับส่งอีเมลจะใช้โปรแกรม Web Browser เปิดเว็บที่ http://webmail.psu.ac.th/
นอกจากนี้เว็บยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้วิธีการใช้งานเดียวกันนั้น (ผ่าน Web Browser) เพื่อใช้ “ระบบงาน” อาทิเช่น “ระบบสารสนเทศบุคลากร ม.สงขลานครินทร์” ที่ http://dss.psu.ac.th/ “ระบบธนาคารไทยพาณิชย์” ที่ http://www.scbeasy.com ระบบสั่งซื้อสินค้า ที่ http://amazon.com/ เป็นต้น
สังเกตว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ “ที่อยู่เครื่องคอมพิวเตอร์” เพียงแต่รู้ “ที่อยู่ของระบบงาน” เท่านั้น แม้ว่าที่อยู่ของเครื่องจะแฝงอยู่ในที่อยู่ของระบบงานแต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก อาทิเช่น http://www.scb.co.th และ http://www.scbeasy.com ต่างเป็นที่อยู่ของระบบงานที่อาจอยู่ในเครื่องเดียวกัน อยู่คนละเครื่องแต่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน หรืออยู่ต่างเครือข่าย ก็ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้
กล่าวโดยสรุปคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว เว็บทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนจากการอยู่บนพื้นฐานของ “เครื่อง” เป็น “ระบบ”
"Internet 3.0"
ยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตเป็นยุคที่เรากำลังจะก้าวไปสู่เป็น ยุคของการสื่อสารเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer-to-Computer Communication) รายละเอียดในเชิงแนวความคิดของยุคนี้เป็นเรื่องราวที่ต้องทำความเข้าใจกันมากทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ “ยังมาไม่ถึง” และจะเป็นยุคที่สำคัญมากของการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทีเดียว
เมื่อกล่าวว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เป็นในยุคที่สาม ผู้อ่านอาจสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ก็ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเพื่อให้เกิดอินเตอร์เน็ตไม่ใช่หรือ ทำไมพึ่งมาเชื่อมเอาในยุคที่สาม?
“การเชื่อมต่อ” ในบทความนี้ที่กล่าวมาเป็นการกล่าวถึงการเชื่อมต่อในระดับของสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในระดับที่สูงกว่าใน “การรับรู้ความหมาย” กว่าการเชื่อมต่อเพื่อการส่งผ่านข้อมูล (Data Communication)
ในยุคที่สามนี้จะเป็นยุคที่ “ระบบงาน” จะติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้สารสนเทศซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ กล่าวคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว ในยุคนี้ “ระบบงาน” จะให้ “บริการ” สารสนเทศของตนแก่ระบบงานอื่นๆ และใช้บริการสารสนเทศจากระบบงานอื่นๆ เพื่อประกอบเป็นบริการของตนให้แก่ผู้ใช้
"Web 2.0"
จะเห็นได้ว่าในยุคที่สามนี้จะมีการกล่าวถึง “บริการ” ระหว่างกันและในการติดต่อสื่อสารของข้อมูลในระบบนี้ก็ยังผ่านเทคโนโลยีพื้นฐานบางอย่างของเว็บ ดังนั้นนักการตลาดของหลายบริษัทจึงใช้คำว่า “Web Services” แทนความหมายของยุคที่สามนี้ ในขณะนี้ศัพท์ที่เป็นที่นิยมอีกคำหนึ่งที่จะแทนความหมายของยุคนี้คือ “Web 2.0” (ควรอ่านว่า Web Two Point Oh อย่าอ่านว่าเว็บสองจุดศูนย์) ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์กว้างๆ เพื่อความหมายเชิงการตลาดมากกว่าที่จะมีความหมายเชิงเทคโนโลยี
ในยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตนั้นถือได้ว่าเป็นยุคที่สองของเว็บ ความหมายของยุคที่สองของเว็บได้มีผู้อธิบายไว้หลากหลาย แต่ยุคที่สองของเว็บจะอธิบายได้ชัดเจนต้องอธิบายด้วยการนำสถานะของผู้ใช้และการเข้าถึงข้อมูลเป็นตัวตั้ง
ในคำอธิบายในสถานะของผู้ใช้นั้น ในยุคแรกของเว็บจะเป็นยุค “เว็บเพื่ออ่านอย่างเดียว” (Read-Only Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะแยกกันอย่างชัดเจน คนเขียนจะมีหน้าที่เขียนส่วนคนอ่านจะมีหน้าที่อ่าน ไม่ปะปนกัน ส่วนในยุคที่สองจะเป็นยุค “เว็บเพื่อการอ่านและเขียน” (Read-Write Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะเป็นบุคคลเดียวกัน
ส่วนคำอธิบายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลนั้น ในยุคแรกเว็บจะมี “Site” เป็นเว็บไซต์ (Web Site) นั่นคือสารสนเทศจะมีที่อยู่ที่แน่นอน แต่ในยุคที่สองเว็บจะไม่มี “Site” อีกต่อไป สารสนเทศจะเกิดการแลกเปลี่ยนกันโดยระบบงานเพื่อไปหาผู้ใช้ กล่าวอีกมุมหนึ่งคือ ในยุคแรกผู้ใช้ต้อง “ไปหา” สารสนเทศ แต่ยุคที่สองสารสนเทศจะ “มาหา” ผู้ใช้นั่นเอง
"Outlook from Thailand"
ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตกำลังก้าวสู่ยุคที่สาม และเว็บซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคของอินเตอร์เน็ตนั้นก็กำลังก้าวสู่ยุคที่สอง ความหวังของเราในฐานะนักพัฒนาซอฟท์แวร์ในประเทศไทยคือเราจะได้เป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ นำพาประเทศไทยให้ปรากฎในแผนที่โลกว่าเราก็เป็นหนึ่งใน “ผู้ให้” เทคโนโลยีแก่ชาวโลกเช่นเดียวกัน
ข้อมูลจาก http://gotoknow.org/blog/memecoder/9194

ผลงานรายบุคคล:

ให้สร้าง Blog โดยใช้ Blogger (http://www.blogger.com/)
ให้นำนวัตกรรม web 2.0 technology ที่ได้จากการหารือในระดับงานกลุ่มมาติดตั้งจริงใน Blog ของตนเอง อย่างน้อย 2 เครื่องมือ พร้อม Post ข้อความอธิบายนวัตกรรมนั้นๆใน Blog ของตนเอง
ให้ประกาศ URL ของ Blog ใน กระดานเสวนาของกลุ่ม (ห้องประชุมกลุ่มย่อย) โดยให้เขียนเต็มนะครับ ตัวอย่างรูปแบบที่ต้องการคือ
ชื่อ วรสรวง ดวงจินดาหน้าที่ในกลุ่ม - ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) Blog: http://ajcharng.blogspot.com/นวัตกรรม web 2.0 ทีนำมาใช้: tag cloud, rss (ข่าว), rss (การ์ตูน IT), rss (Live Traffic Feed), YouTube, Google Docs Presentation, Google Translate, Google Calendar, Creative Commons Attribution 3.0 License
เพิ่มเติม
เพื่อน ๆ อย่าลืมทำผลงานรายบุคคล ตามรายละเอียดนี้นะคะ
ให้สร้าง Blog โดยใช้ Blogger (http://www.blogger.com)
ให้ นำนวัตกรรม web 2.0 technology ที่ได้จากการหารือในระดับงานกลุ่มมาติดตั้งจริงใน Blog ของตนเอง อย่างน้อย 2 เครื่องมือ พร้อม Post ข้อความอธิบายนวัตกรรมนั้นๆใน Blog ของตนเอง
ให้ประกาศ URL ของ Blog ใน กระดานเสวนาของกลุ่ม (ห้องประชุมกลุ่มย่อย) โดยให้เขียนเต็มนะครับ ตัวอย่างรูปแบบที่ต้องการคือ
ตัวอย่างการประกาศ URL ของ Blog ใน กระดานเสวนาของกลุ่ม
ชื่อ อุมาจินต์ คงคาหน้าที่ในกลุ่ม - สมาชิก (member) Blog: http://jinny-funnyenglish.blogspot.com/ นวัตกรรม web 2.0 ทีนำมาใช้: feedjit,Rss รบกวนเพื่อน ๆ แจ้ง URL ของ Blog ตนเองได้ที่กระทู้ นี้นะคะ ส่งงาน URL Web log ส่วนตัวที่กระทู้นี้ครับเพื่อให้อาจารย์สะดวกตรวจงานเดี่ยว

ผลงานกลุ่ม

ผลงานกลุ่ม:
หารือกันโดยใช้กระดานเสวนาของกลุ่ม (ห้องประชุมกลุ่มย่อย)
บันทึกข้อสรุปของกลุ่ม โดยให้ใช้ใบงานบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังข้อต่อไปนี้
ชื่อกลุ่ม (ขอให้เป็นชื่อที่สนุก สะท้อนถึงนวัตกรรม)
รายชื่อ พร้อมตำแหน่ง (เช่น ผู้ดำเนินรายการ (moderator) ชื่อ xxxxx xxxx)
บันทึกข้อสรุปของกลุ่มที่ได้จากการศึกษาเอกสารหลักและเอกสารเสริมของสัปดาห์นี้ (อย่างน้อยประมาณ 1 หน้ากระดาษ)
แนวทางในการนำ นวัตกรรม web 2.0 มาใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสมาชิกกลุ่ม

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

สมาชิกกลุ่ม 3

งานที่ต้องการในครั้งนี้ก็ไม่ยากอีกเหมือนเคย คือขอให้แบ่งกลุ่มตามสมัครใจ กลุ่มละ 7 คน จากนั้นแบ่งหน้าที่ในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
สรุปรายชื่อสมาชิกและบทบาทเพิ่มเติมของกลุ่ม 3 น๊ะครับ
1) อ.จันทร สุนัยรัตนาภรณ์ (Note Taker)
2) k-กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา (Modulator )
3) พระมหาบุญชัช เมฆแก้ว (facilitator)
4) อ.กานต์พิชชา จีระะศิริ (member)
5) k-สรรธิป ฉายพันธ์ (member)
6) k-กมลศักดิ์ สุระดม (member)
7) k-อุมาจินต์ คงคา (member)
คำอธิบายแต่ละตำแหน่ง
ผู้ดำเนินรายการ (moderator)
ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
ผู้บันทึก (note taker)
สมาชิก (member)
สมาชิก (member)
สมาชิก (member)
สมาชิก (member)

ภารกิจที่ 1

งานกลุ่มที่อาจารย์ให้ทำ คือ "ศึกษาถึงแนวทางในการนำนวัตกรรม web 2.0 มาใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับตนเอง"นวัตกรรม web 2.0 ทีนำมาใช้ : tag cloud, rss (ข่าว), rss (การ์ตูน IT), rss (Live Traffic Feed), YouTube, Google Docs Presentation, Google Translate, Google Calendar, Creative Commons Attribution 3.0 Licenseงานที่อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มส่ง คือนำสิ่งที่ได้จากการประชุมกลุ่ม + สนทนากลุ่ม บันทึกข้อสรุปของกลุ่ม โดยให้ใช้ใบงานบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังข้อต่อไปนี้
1. ชื่อกลุ่ม (ขอให้เป็นชื่อที่สนุก สะท้อนถึงนวัตกรรม)
2. รายชื่อ พร้อมตำแหน่ง (เช่น ผู้ดำเนินรายการ (moderator) ชื่อ xxxxx xxxx)
3. บันทึกข้อสรุปของกลุ่มที่ได้จากการศึกษาเอกสารหลักและเอกสารเสริมของสัปดาห์นี้ (อย่างน้อยประมาณ 1 หน้ากระดาษ)
4. แนวทางในการนำ นวัตกรรม web 2.0 มาใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสมาชิกกลุ่ม